ประเพณีบุญผะเหวด หรือ บุญพระเวสสันดร ประเพณีไทยภาคอีสาน
ประเพณีบุญผะเหวด หรือ บุญพระเวสสันดร
ประเพณีไทยภาคอีสาน
บุญผะเหวด บุญพระเวสสันดร หรือ บุญมหาชาติ ซึ่งเป็นการทำบุญในเดือนสี่
บางครั้งก็เรียก “ บุญเดือนสี่” ในบางท้องถิ่นจะทำบุญเดือนนี้ในเดือนสามรวมกับบุญข้าวจี่และบุญกุ้มข้าวใหญ่
ให้เป็นบุญเดียวกันส่วนเดือนสี่ก็เว้นไว้ บุญผะเหวดส่วนมากจะกระทำกันในเดือนสี่
บุญผะเหวด ประเพณีไทยภาคอีสาน ซึ่งจะทำบุญผะเหวด ปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔ ไปจนถึงกลางเดือน ๕ จะจัดประเพณีบุญผะเหวดใน ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานบุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุต มาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชค ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ จึงมีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า อัญเชิญมาจาก สะดือทะเล
บุญผะเหวด เป็นประเพณีไทยภาคอีสาน สืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายร้อยปี เมื่อถึงเดือนสี่ชาวอีสานแต่ละหมู่บ้านจะประชุมกันเพื่อ กำหนดวันจัดงาน ตามความพร้อมของแต่ละหมู่บ้าน เมื่อกำหนดวันเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะบอกกล่าวญาติ พี่น้อง และหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมงานบุญ และจะ ช่วยกันหาดอกไม้มาตากแห้งไว้ ช่วยกันฝานดอกโน (ทำจากลำต้นหม่อน) งานนี้เป็นงานใหญ่ทำติดต่อกันสามวัน
วันแรก ตามประเพณีไทยดั้ง เดิมนั้น จะเรียกว่า วันบีบข้าวปุ้น หรือวันห่อข้าวต้ม ชาวบ้านจะเตรียมจัด ทำอาหารคาวหวาน ไว้ต้อนรับญาติพี่น้อง หรือเพื่อน สนิท มิตรสหายที่จะมาร่วมงานบุญ ซึ่งในงานประเพณี บุญผะเหวดร้อยเอ็ด กำหนดให้วันแรกตอนบ่ายๆ เป็นวัน แห่พระอุปคุตรอบเมือง ให้ประชาชนได้สักการบูชา แล้ว นำไปประดิษฐานไว้หออุปคุต ภายในบริเวณงาน เพราะ เชื่อว่าเป็นพระเถระ ผู้มีฤทธิ์ นิรมิตกุฏิอยู่กลางแม่น้ำมหาสมุทร สามารถขจัดเภทภัยทั้งมวลได้ และพระอุปคุต ยังปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชคลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ จึง มีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า อัญเชิญมาจากสะดือทะเล
วันที่สอง ตามประเพณีไทยดั้งเดิมถือว่าเป็นวันโฮม (วันรวม) จะเป็นวันที่ญาติพี่น้อง ที่รู้ข่าวการทำบุญ มหาทานจะมาร่วมทำบุญโดยนำข่าวสาร อาหารแห้ง มาร่วมสมทบ และร่วมรับประทานอาหารตลอดทั้งวัน พร้อมทั้งนำอาหารต่างๆ ไปฝากญาติพี่น้องคนอื่นๆ ด้วย ในงานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด กำหนดให้เป็นวันแห่ พระเวสสันดรเข้าเมือง แต่ละคุ้มวัดตลอดทั้งอำเภอทุก อำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน ๒๐ อำเภอ จะจัดขบวน แห่แต่ละกัณฑ์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์แห่รอบเมือง ตอนเย็นมีมหรสพ สมโภช ในวันที่ ๒ และ ๓ ชาวร้อยเอ็ดทุกภาคส่วนทั้งภาค ราชการ บริษัทห้างร้าน เอกชน จะมีตั้งเต็นท์บริการเลี้ยง ข้าวปุ้นฟรีตลอดงาน
วันที่สาม เป็นวันแห่กัณฑ์จอบกัณฑ์หลอน เริ่มตั้งแต่ เช้ามืด ประมาณตีสี่ ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวมาปั้นเป็นก้อน มาทำพิธีเพื่อเอาบูชากัณฑ์เทศน์ คาถาพัน เรียกว่า”ข้าว พันก้อน” ชาวบ้านจะพากันแห่ข้าวพันก้อนรอบศาลาวัด มี หัวหน้ากล่าวคำบูชา
บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ ถือเป็นงานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งใหญ่ อันมีการ สละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือ ประโยชน์สุขอันไพศาลของ มวลชนมนุษย์ชาติเป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสาน แต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจ ร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมประเพณี สืบมาจนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็น วัฒนธรรมสืบไป นอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่าง ญาติพี่น้องจากแดนไกลสมกับคำกล่าวที่ว่า "กินข้าวปุ้น เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"
0 ความคิดเห็น: