ประเภณีอีสาน

งานแห่ปราสาทผึ้งที่จังหวัดสกลนคร
งานแห่เทียนเข้าพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี
งานไหลเรือไฟที่จังหวัดนครพนม
งานแห่บั้งไฟที่จังหวัดยโสธร
งานแห่ผีตาโขนหรืองานบุญหลวงจังหวัดเลย



ฮีตสิบสองคองสิบสี่

ฮีต สิบสองฮีตสิบสองมาจากคำ 2 คำ คือ ฮีต กับ สิบสองฮีตมาจากคำว่า จารีต หมายถึงสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามชาวอีสาน เรียกว่า จาฮีต หรือฮีต สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในหนึ่งปีฮีตสิบสอง จึงหมายถึงประเพณีที่ประชาชนชาวอีสานได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนในแต่ละปีประเพณีทั้งสิบสองเดือนที่ชาวอีสานถือปฏิบัติกันมา นั้นล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความ สมานสามัคคีมีความรักใคร่กัน ของคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามมาจวบจนปัจจุบัน ประเพณีอีสานส่วนใหญ่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างจากประเพณีภาคอื่นๆ (อาจคล้ายคลึงกับประเพณีของทางภาคเหนือบ้างเพราะมีที่มาค่อนข้างใกล้ชิด กัน)ประเพณีอีสานได้รับอิทธิพลมา จากวัฒนธรรมล้านช้าง(แถบหลวงพระบางประเทศลาว)จึงจะเห็นได้ว่าประเพณีของชาว อีสานและชาวลาวมีความคล้ายกันเพราะมีที่มาเดียวกันและชาวอีสานและชาวลาวก็ไป มาหาสู่กนเป็นประจำเยี่ยงญาติพี่น้องทำให้มีการถ่ายเทวัฒนธรรมระหว่างกัน ด้วย

ฮีตสิบสองได้แก่

เดือนอ้าย(เดือนเจียง)-บุญเข้ากรรม

บุญ เข้ากรรมเป็นกิจกรรมของสงฆ์ เมื่อถึงเดือนอ้ายพระสงฆ์จะต้องเข้ากรรม ซึ่งเป็น พิธีที่เรียกว่าเข้าปริวาสกรรม" โดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติ(กระทำผิด) ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เพื่อเป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนเอง และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระวินัยพิธีเข้าปริวาสกรรมจะเป็นข้างขึ้น หรือข้างแรมก็ได้ โดยกำหนดไว้9ราตรี พระภิกษุสงฆ์ที่ต้อง การเข้าปริวาสกรรมต้องไปพักอยู่ในสถานที่สงบ ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน(อาจจะเป็นบริเวณวัดก็ได้ โดยมีกุฏิชั่วคราวเป็นหลังๆพระภิกษุสงฆ์ที่เข้าปริวาสกรรมคราวหนึ่งๆ จะมีจำนวนเท่าใดก็ได้แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่าตนเองจะเข้ากรรม และเมื่อถึงเวลาออกกรรมจะมีพระสงฆ์ 20 รูปมารับออกกรรม พิธีทำบุญเข้ากรรมหรือเข้าปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์นี้ไม่ถือว่าเป็นการ ล้างบาป แต่จะถือว่าเป็นการปวารณาตนว่าจะไม่กระทำผิดอีก ส่วนกิจของชาวพุทธศาสนิกชนในบุญเข้ากรรมนี้ คือการหาข้าวของเครื่องอุปโภคบริโภถวายพระ ซึ่งถือว่าจะได้บุญมากกว่าการทำบุญตักบาตรทั่วไป

เดือนยี่-บุญคูณลาน

การ ทำบุญคูณลานจะทำกันเมื่อได้เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวอีสานจะเห็นความสำคัญของข้าวเป็นอย่างมากในพิธีนี้จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ ไปเทศน์ที่ลานนวดข้าว (ลานนวดข้าวของชาวอีสานในสมัยก่อนมักจะทำขึ้นในลานข้างบ้านหรือข้างทุ่งนา และมักจะให้มูลของความมาลาดพื้นแล้วตากให้แห้งจะได้พื้นที่เรียบ)มีการทำบุญ ตักบาตรเลี้ยงพระประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ชาวบ้าน ลานนวดข้าว ที่นา ต้นข้าว และบริเวณใกล้ลานนวดข้าว ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่การเกษตรกรรม ทำให้ข้าวในนาอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเชื่อว่า เจ้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป เมื่อเสร็จพิธีทำบุญคูณลานแล้วชาวบ้านจึงจะขนข้าวใส่ยุ้ง และเชิญขวัญข้าวคือพระแม่โพสพไปยังยุ้งข้าวและทำพิธีสู่ขวัญข้าวสู่ขวัญเล้า ข้าว (ฉางข้าว)เพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป ประเพณีปัจจุบันแทบจะหาดูไม่ได้แล้ว เพราะชาวอีสานได้ทำนากันน้อยลง และนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ เช่นการใช้เครื่องนวดข้าวแทนการนวดด้วยมือหรือใช้สัตว์นวด(ทำให้ไม่ต้องมี ลานนวดข้าว)

เดือนสาม-บุญข้าวจี่

บุญ ข้าวจี่เป็นการทำบุญในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา ชาวบ้านจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ตอนค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านอาจจะไปรวมกันที่วัด หรือต่างคนต่างจัดเตรียมข้าวจี่ไปเองแล้วนำไปถวายพระภิกษุสามเณรที่วัด มีการไหว้พระรับศีลพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และตักบาตรด้วยข้าวจี่ แล้วยกไปถวายพร้อมภัตตาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์ฉลองข้าวจี่และรับพร ซึ่งมูลเหตุที่มีการทำบุญข้าวจี่ เนื่องมาจากสมัยพุทธกาลมีนางทาสชื่อปุณณทาสีได้นำแป้งข้าวจี่(แป้งทำขนมจีน) ไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางก็คิดว่าขนมแป้งข้าวจี่เป็นเพียงขนมของทาสที่ต่ำต้อย พระพุทธองค์คงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงหยั่งรู้จิตใจของนาง จึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ต่อหน้านาง ทำให้นางเกิดความปิติดีใจชาวอีสานจึงได้แบบอย่างในการทำแป้งข้าวจี่นี้และพา กันทำบุญข้าวจี่ถวายพระมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงเดือนสามจะมีการทำข้าวจี่ถวายพระมาจวบจนปัจจุบัน (การทำข้าวจี่ของชาวอีสานในช่วงเดือน 3 นั้นเป็นช่วงที่อากาศหนาวเย็น ดังนั้นการจี่ข้าวในช่วงนี้ชาวบ้านก็จะได้รับไออุ่นจากการนั่งล้องวงกันจี่ ข้าวอีกด้วย) การทำข้าวจี่ของชาวอีสานนั้นปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว มาปั้นเป็นก้อน แล้วนำไปย่างบนไปอ่อนๆบางคนอาจใช้ไข่เหลืองทาเพื่อให้มีสีที่น่ารับประทาน หรือใส่น้ำอ้อยที่ใส้ข้าวจี่ จี่ ภาษาอีสานหมายถึง ปิ้งหรือย่าง

เดือนสี่-บุญผะเหวด

(บุญ พระเวสสันดรหรือบุญมหาชาติ) คำว่าผะเหวด เป็นสำเนียงของชาวอีสาน ที่มาแผลงมาจากคำว่า พระเวส ซึ่งหมายถึง พระเวสสันดร การทำบุญผะเหวด เป็นการทำบุญและฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์ มหาชาติซึ่งมีจำนวน 13 กัณฑ์ ทั้งนี้เพี่อเป็นการรำลึกถึงพระเวสสันดรผู้ซึ่งบำเพ็ญเพียรอันยิ่งใหญ่ด้วย วิธีบริจาคทานหรือทานบารมีในชาติสุดท้าย หรือมหาชาติของพระพุทธองค์ก่อนที่จะมาเสวยชาติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า งานบุญผะเหวดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสานนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อว่าหากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียวนั้น อานิสงฆ์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขตามพุทธคติ ปัจจุบันงานบุญผะเหวดยังหาดูได้ทั่วไปเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสาน แต่ได้ลดความใหญ่โตของงานลงบ้าง ไม่ใช่เป็นงานที่ยิ่งใหญ่เหมือนในอดีต แต่ก็ยังมีบางจังหวัดที่ได้จัดงานนี้อย่างยิ่งใหญ่ เช่นที่จังหวัดร้อยเอ็ดถือเป็นงานประเพณีของจังหวัด ภายในงานจะมีขบวนแห่พระเวสสันดรหลายขบวน และมีการทำขนมจีน(ชาวอีสานเรียกข้าวปุ้น)มากมายมาเลี้ยงแขกบ้านแขกเมือง

เดือนห้า-บุญสงกรานต์

เป็น การทำบุญวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ นิยมทำในเดือนห้าเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนถึงวันที่ 15 เมษายน คำว่าสงกรานต์เป็นคำสันกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในที่นี้หมายถึงพระอาทิตย์ที่ผ่าน หรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่งเป็นเดือนที่เริ่มต้นปีใหม่ การทำบุญสงกรานต์จะมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าผู้แก่รวมทั้งจะมีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญพระพุทธรูปและพระสงฆ์ ตามละแวกหมู่บ้านต่างๆ นอกจากนี้ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรก่อพระเจดีย์ทราย และมีการละเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนานตลอดทั้ง3วันและบางหมู่บ้านจะมีการแห่ พระพุทธรูปไปรอบๆหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้สรงน้ำกันอย่างทั่วถึงปัจจุบัน งานบุญสงกรานต์ของชาวอีสานได้เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมากในตัวเมืองใหญ่ๆ มักมีการเล่นน้ำกันอย่างรุนแรง มีการใช้แป้ง น้ำแข็งหรือสีด้วยแต่ประชาชนอีสานในชนบทโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ยังคงรักษาขนบ ธรรมเนียมแบบดั้งเดิมไว้ คือมีการสรงน้ำพระพุทธรูปทั้งที่วัดและพระพุทธรูปที่บ้าน พระสงฆ์จากนั้นจะไปสรงน้ำขอพรจากคนเฒ่าคนแก่ที่ตัวเองให้ความเคารพ พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ฯลฯในช่วงงานนี้ชาวอีสานที่ไปทำงานต่างถิ่นจะกลับบ้านเพื่อร่วมทำบุญและพบปะ กับญาติพี่น้อง

เดือนหก-บุญบั้งไฟ

หากกล่าว ถึงบุญบั้งไฟแล้วคนส่วนใหญ่คงจะนึกถึงจังหวัดยโสธรหรืออุดรธานี ซึ่งมีการจัดงานนี้อย่างยิ่งใหญ่ การทำบุญบั้งไฟเป็นงานสำคัญอีกงานของชาวอีสานโดยจัดกันก่อนฤดูทำนา ด้วยความเชื่อว่าเป็นการขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาข้าวอุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่อย่างมีความสุข ในงานจะมีการแห่บั้งไฟและจุดบั้งไฟ เพราะเชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณขึ้นไปบอกพญาแถนให้ส่งน้ำฝนลงมา ระหว่างที่มีการจุดบั้งไฟชาวบ้านจะมีการเซิ้งซึ่งจะสนุกสนานมาก และการทำบุญบั้งไฟนี้นับเป็นการชุมนุมครั้งสำคัญของคนในท้องถิ่น ที่มาร่วมกันจัดงานด้วยความรื่นเริงสนุกสนานเต็มที่มีการพูดจาลามกหรือนำ สัญลักษณ์เรื่องเพศมาล้อเลียนในขบวนแห่บั้งไฟ โดยไม่ถือว่าเป็นเรื่องหยาบคายการ และมีการประลองบั้งไฟกันว่าบั้งไฟใครจะขึ้นสูงกว่ากัน ส่วนบั้งไฟใครที่จุดแล้วไม่ขึ้นจะมีการทำโทษด้วยการจับเจ้าของบั้งไฟไปโยน บ่อโคลน งานบุญบั้งไฟนี้จะตรงกับประเพณีในเทศกาลเดือนหกอีกอย่างหนึ่งคือบุญวันวิสาข บูชา ชาวบ้านจะทำบุญและฟังเทศน์กันในตอนกลางวันกลางคืนจะมีการเวียนเทียน ซึ่งก็ทำเช่นเดียวกับประชาชนในภาคอื่นๆ ปัจจุบันงานบุญบั้งไฟยังหาดูได้ทั่วไปในจังหวัดภาคอีสาน ซึ่งจะมีการจัดงานตั้งแต่งานเล็กๆไปจนถึงงานระดับจังหวัด จังหวัดที่มีการจัดงานใหญ่โตจนเป็นที่รู้จักกันทั่วคือจังหวัดยโสธรและ จังหวัดอุดรธานี

เดือนเจ็ด-บุญซำฮะ

ซำฮะ เป็นภาษาอีสานหมายถึง การทำความสะอาด เหมือนกับคำภาษาไทยกลางว่า ชำระ ประเพณีนี้เป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีเป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ บ้านเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการปัดเป่าความชั่วร้ายให้ออกจากหมู่บ้าน การทำบุญซำฮะนี้ชาวบ้านจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้เรียบร้อย เป็นการทำความสะอาดครั้งยิ่งใหญ่ในรอบปี สิ่งที่ไม่ดี ทั้งหลายให้ขจัดออกไป เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในหมู่บ้านมูลเหตุที่มีการทำบุญซำฮะเนื่องมา จากในสมัยพุทธกาลมีโรคห่า (อหิวาตกโรคระบาดมีผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาโปรดทำให้เกิดฝนห่าใหญ่มาชำระบ้านเมือง) มีการสวดปัดรังควานและประพรมน้ำมนต์ตามหมู่บ้านและชาวบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล ด้วย การจัดงานบุญนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้มีพระคุณในการที่จะทำให้บ้านเมือง สงบสุข

เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา

การเข้า พรรษาเป็นกิจของพระภิกษุสามเณรที่จะต้องอยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือน กำหนดเอาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือนแปดถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรไปพักแรมคืนที่อื่น เนื่องจากฤดูนี้เป็นฤดูแห่งการเกษตรกรรม การห้ามพระภิกษุสามเณรเดินทางด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งอาจมาจาก การไม่ต้องการให้พระภิกษุสามเณรไปเยียบย่ำพืชผลที่ชาวบ้านได้เพาะปลูกไว้ การทำบุญเข้าพรรษาเป็นประเพณีทางศาสนา โดยตรงจึงคล้ายกับภาคอื่นๆในประเทศไทย ในพิธีจะมีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร มีการฟังธรรมเทศนา ชาวบ้านจะหล่อเทียนใหญ่ไว้ถวายเป็นพุทธบูชา และจะเก็บไว้ตลอดพรรษาการทำเทียนถวายวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้มีความเชื่อแต่โบราณว่า หากใครทำเทียนไปถวายวัดเมื่อเกิดชาติใหม่ผู้นั้นจะได้เสวยสุขในสวรรค์ อานิสงส์ของการถวายเทียนนั้นหากมิได้ขึ้นสวรรค์แต่เกิดบนโลกมนุษย์ ผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาไหวพริบเลิศเลอ ประดุจแสงเทียนอันสว่างไสว ปัจจุบันเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสานได้จัดให้มีงานแห่เทียนเข้าพรรษา โดยนำเทียนมาแกะสลักอย่างสวยงามประกอบกันเป็นเรื่องราว แล้วจัดแห่รอบหมู่บ้านหรือ


ตัวเมืองก่อนนำไป ถวายวัด จังหวัดที่มีการจัดงานยิ่งใหญ่คือ จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะมีขบวนแห่เทียนพรรษาที่ได้แกะสลักอย่างวิจิตรบรรจงไปรอบตัวเมือง เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชมความงดงามของเทียนเข้าพรรษา และยังได้ประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย งานแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของประเทศมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกภาค และจากต่างประเทศมารอชมความงดงามของเทียนพรรษามากมาย

เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน

บุญ ข้าวประดับดินเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรที่ล่วงลับไป แล้ว ซึ่งจะจัดขึ้นวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 ชาวบ้านจะพากันทำข้าวปลาอาหารคาวหวาน และข้าวต้มมัดพร้อมหมากพลูที่ห่อใส่ใบตองแล้ว นำไปวางไว้ที่โคนต้นไม้ในบริเวณวัดและรอบๆบ้าน (ที่เรียกว่าข้าวประดับดินคงเป็นเพราะเอาห่อข้าวและเครื่องเคียงไปวางไว้บน ดิน) เพื่อให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วหรือผีบ้านผีเรือนมากิน เพราะเชื่อว่าในช่วงเดือนเก้านี้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับการปลดปล่อยให้ ออกมาท่องเที่ยวได้ ในพิธีบุญข้าวประดับดินชาวบ้านจะวางข้าวประดับดินไว้ พร้อมจุดเทียนบอกกล่าว(บางคนก็จะร้องบอกเฉย) ให้มารับเอาอาหารและผลบุญนี้(การออกไปวางข้าวประดับดินจะออกไปวางตอนเช้ามืด ประมาณตี 2 ตี 3) จากนั้นชาวบ้านจะนำเอาอาหารและสิ่งของไปทำบุญตักบาตรถวายทานแด่พระภิกษุ สามเณร ในพิธีจะมีการสมาทานศีลฟังเทศน์และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับ ไปแล้ว

เดือนสิบ-บุญข้าวสาก

เป็นการทำ บุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย โดยจะมีการทำสลากให้พระจับเพื่อที่จะได้ถวายของตามสลากนั้นเป็นการทำบุญที่ ต่อเนื่องจากพิธีบุญข้าวประดับดินในเดือน 9 เพราะถือว่าเป็นการส่งเปรตหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้ออกมาท่องเที่ยวให้กลับสู่แดนของตนในเดือน 10 นี้ ชาวบ้านจะนำข้าวปลา

ที่ ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้ออกมาท่องเที่ยวให้กลับสู่แดนของตนในเดือน 10 นี้ ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารและสิ่งของไปทำบุญที่วัดในตอนเช้า โดยนำห่อข้าวสาก(เหมือนกับห่อข้าวประดับดิน) ไปวางไว้บริเวณวัดพร้อมจุดเทียนและบอกให้ญาติมิตรผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มารับอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ มีการฟังเทศน์ฉลองข้าวสากและกรวดน้ำไปให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ชาวบ้านจะนำเอาข้าวสากที่พระสวดเสร็จแล้ว กลับไปที่บ้านด้วยโดยเอาไปวางไว้ตามทุ่งนาและรอบๆบ้านเพื่อให้ผีบ้านผีเรือน เจ้าที่เจ้าทางหรือผีที่ไร้ญาติขาดมิตรได้มารับส่วนบุญ

เดือนสิบเอ็ด-บุญออกพรรษา

บุญ ออกพรรษาจัดทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นการทำบุญที่สืบเนื่องมาจากบุญเข้าพรรษาในเดือน 8 ที่พระภิกษุสามเณรได้เข้าพรรษา เป็นเวลานานถึง 3 เดือน ดังนั้นในวันที่ครบกำหนด พระภิกษุสามเณรเหล่านั้นจะมารวมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา คือเปิดโอกาสให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ วันนี้จะเป็นวันที่พระภิกษุสามเณรจะได้มีโอกาสมาชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียง ที่วัด ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็นวันสำคัญ และเป็นระยะที่ชาวบ้านหมดภาระในการทำไร่ทำนาอากาศ ในช่วงนี้จะเย็นสบายจึงถือโอกาสมาร่วมกันทำบุญ มีการตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ รับศีลสวดมนต์ฟังเทศน์และถวายผ้าจำนำพรรษา ตอนค่ำจะมีการจุดประทีปโคมไฟในบริเวณวัดและหน้าบ้าน บางท้องถิ่นจะมีการถวายปราสาทผึ้ง หรือต้นผาสาดเผิ้ง(สำเนียงอีสาน)เพื่อเป็นพุทธบูชา จังหวัดที่มีงานบุญถวายปราสาทผึ้งที่ยิ่งใหญ่คือ จังหวัดสกลนคร จะมีขบวนแห่ปราสาทผึ้งซึ่งเป็นปราสาทจำลองที่แกะสลักอย่างวิจิตรบรรจงมาจาก ขี้ผึ้ง(คล้ายๆเทียน) ไปรอบๆตัวเมืองให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชมความงดงาม บางท้องถิ่นที่อยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำจะมีการแข่งเรือเพื่อความสนุกสนานและ สามัคคีร่วมกันในตอนกลางวัน ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟ(ฮ่องเฮือไฟ) เพื่อเป็นการบูชาคารวะพระ

เดือนสิบสอง-บุญกฐิน

บุญ กฐินเป็นการถวายผ้าจีวรแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน12 มูลเหตุที่มีการทำบุญกฐินนั้นมีเรื่องเล่าว่า มีพระภิกษุจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยระหว่างการเดินทางนั้นเป็นช่วงฝนตก และระยะทางไกลจึงทำให้ผ้าจีวรของพระภิกษุเหล่านั้นเปียกน้ำเปรอะเปื้อนโคลน ไม่สามารถหาผ้าผลัดเปลี่ยนได้พระพุทธเจ้าได้เห็นถึงความยากลำบากนั้น จึงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด ชาวบ้านจึงได้จัดผ้าจีวรนำมาถวายพระภิกษุในช่วงเวลาดังกล่าวจนกลายเป็น ประเพณีทำบุญกฐินมาจวบจนปัจุบัน ก่อนการทำบุญกฐินเจ้าภาพจะต้องจองวัดและกำหนดวันทอดกฐินล่วงหน้า มีการเตรียมผ้าไตรจีวรพร้อมเครื่องอัฐบริขารและเครื่องไทยทาน มีการบอกบุญแก่ญาติมิตร ตอนเช้าในพิธีจะแห่ขบวนกฐินเพื่อนำไปทอดที่วัดและแห่กฐินเวียนประทักษิณ 3 รอบจึงทำพิธี ถวายผ้ากฐิน นอกจากนี้อาจมีการทำบุญจุลกฐิน(กฐินแล่นซึ่งเป็นการทำผ้าไตรจีวรจากปุยฝ้าย แล้วนำไปทอดให้เสร็จ ภายใน24ชั่วโมงนับแต่เวลาเริ่มทำเพราะเชื่อว่าจะได้บุญมาก) ปัจจุบันชาวอีสานที่ไปทำมาหากินต่างถิ่น มักจะรวมตัวกันตั้งกองกฐินเพื่อนำกลับไปถวายที่วัดในหมู่บ้านตนเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำบุญแล้ว ยังได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวและญาติมิตรด้วย

คองสิบสี่
คองสิบสี่หมายถึงครองธรรม14อย่างเป็นกรอบหรือแนวทางที่ใช้ปฏิบัติระหว่างกันของผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองพระสงฆ์และระหว่างบุคคล
ทั่วไปเพื่อความสงบสุขร่มเย็นของบ้านเมือง คลองสิบสี่มีหลายแบบหลายประเภท พอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
คองสิบสี่แบบที่ 1 -กล่าวถึงผู้เกี่ยวข้องกับครอบครัวในสังคมตลอดจนผู้มี่หน้าที่ปกครองบ้านเมือง

คองสิบสี่แบบที่ 2-กล่าวถึงหลักการที่พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติในการปกคลองบ้านเมืองและข้อที่ประชาชนควรปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์
์และจารีตประเพณีที่พึงปฏิบัติให้บ้านเมืองสงบสุขคองสิบสี่แบบที่ 3กล่าวถึงธรรมที่พระราชาพึงยึดถือปฏิบัติและเน้นหนักให็ประชาชน
ปฏิบัติตามจารีตประเพณีและข้อที่คนในครอบครัวพึงปฏิบัติต่อกันคองสิบสี่แบบที่4กล่าวถึงไปแนวทางฮีตบ้านคลองเมืองคือการดำเนิน
การ ปกครองบ้านเมืองเพื่อให้บ้านเมืองอยู่เป็นสุขและปฏิบัติตามประเพณีคองสิบสี่ สำหรับพระสงฆ์คองสิบสี่สำหรับนักปกครองคองสิบสี่สำหรับ ประชาชนเพิ่มเติมคลอง(ครรลอง) คือแบบแผนหรือแนวทางดำเนินชีวิตคล้ายๆ กับคำฝรั่งหนึ่งว่า"Way of life"แต่คลองในที่นี้มุ่งไปทางศีล
ธรรมประเพณีที่ถูกผิดมากกว่าด้านอาชีพ เห็นจะตรงกับภาคกลางว่าทำนองคลองธรรมนั่นเองแต่ชาวอีสานออกเสียงคลองเป็นคองไม่มี
กล้ำ เช่นว่าถ้าทำไม่ถูกผู้ใหญ่ท่านจะเตือนว่า"เฮ็ดบ่แม่นคอง"หรือว่า"เฮ็ดให้ถือ ฮีตถือคอง"เป็นต้นฉบับของท่านเจ้าพระอริยานุวัตรมีคำฮีต
นำหน้าด้วยคือ
1. ฮีตเจ้าคลองขุน เป็นหลักสำหรับผู้ปกครองในสมัยโบราณ ขุนก็คือเจ้าเมือง เช่น ขุนเบฮมขุนลอ ขุนทึงเป็นต้น(ภาคกลางก็มีเช่นพ่อ
ขุนรามคำแหง)
2. ฮีตท้าวคลองเพีย (เจ้าปกครองขุน)
3. ฮีตไพร่คลองนาย (ไพร่ปฎิบัติต่อนาย)
4. ฮีตบ้านคลองเมือง (ประเพณีของบ้านเมือง)
5. ฮีตปู่คลองย่า
6. ฮีตตาคลองยาย
7. ฮีตพ่อคลองแม่ (พรหมวิหารธรรม)
8. ฮีตไภ้คลองเขย (หลักปฎิบัติของลูกสะใภ้ลูกเขย)
9. ฮีตป้าคลองลุง
10. ฮีตลูกคลองหลาน
11. ฮีตเถ้าคลองแก่ (ธรรมของผู้ชายที่มีต่อเด็ก)
12. ฮีตปีคลองเดือน (คือฮีตสิบสองนั่นเอง)
13. ฮีตไฮ่คลองนา
14. ฮีตวัดคลองสงฆ์

Recent Posts

free counters

ผู้เข้าชมเว็บ